โครงงานค้นคว้าอิสระ
เรื่อง ปัญหาและความต้องการของชาวต่างชาติที่มีต่อจังหวัดเชียงใหม่
เรื่อง ปัญหาและความต้องการของชาวต่างชาติที่มีต่อจังหวัดเชียงใหม่
จัดทำโดย
1. นายมณเฑียร สิทธิกูล เลขที่ 1
2. นายภาณุวัฒน์ สิทธิกูล เลขที่ 3
3. นางสาวเจณิสตา พุทธชื่น เลขที่ 24
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 608
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 608
รายวิชา
I30202
ค้นคว้าอิสระ
ปีการศึกษา
2560
โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม
อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
สำนักงานเขตพื้นที่การมัธยมศึกษา
เขต 34
ก
|
โครงงานค้นคว้าอิสระ
เรื่อง ปัญหาและความต้องของชาวต่างชาติที่มีต่อจังหวัดเชียงใหม่
ผู้จัดทำ 1.นายมณเฑียร สิทธิกูล เลขที่ 1
2.นายภาณุวัฒน์
สิทธิกูล เลขที่ 3
3.นางสาวเจณิสตา
พุทธชื่น เลขที่ 24
ครูที่ปรึกษา
ครูสมร ปาดวง ตำแหน่ง ครู
สถานศึกษา
โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม อำเภอสันป่าตอง สพม. เขต 34
ปีการศึกษา
2560
ข
|
โครงงานนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีได้รับความกรุณาจาก
ครูสมร ปาดวง ครูที่ปรึกษาโครงงาน ที่ได้ให้คำเสนอแนะ แนวคิด
ตลอดจนแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ มาโดยตลอด จนโครงงานเล่มนี้เสร็จสมบูรณ์
ผู้ศึกษาจึงขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
ขอขอบคุณท่านผู้อำนวยการเจียมพดล
ไชยยาลักษณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม
ที่ได้ผู้จัดทำได้ใช้สถานที่ในการศึกษาค้นคว้าทำโครงงาน
รวมไปถึงการวางแผนออกแบบโครงงานเป็นต้นไป
ขอขอบพระคุณ
คุณพ่อ คุณแม่ และผู้ปกครอง ที่ได้ให้คำปรึกษาโครงงานเล่มนี้มาโดยตลอด
รวมทั้งเป็นกำลังใจที่ดีเสมอมา
ขอขอบคุณเพื่อน
ๆ พี่ ๆ นักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 608
ที่ได้ช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงานชิ้นนี้
มณเฑียร สิทธิกูล
ภาณุวัฒน์ สิทธิกูล
เจณิสตา พุทธชื่น
ค
|
ชื่อเรื่อง :
โครงงานศึกษาค้นคว้าปัญหาและความต้องของชาวต่างชาติที่มีต่อจังหวัดเชียงใหม่
รายวิชา :
วิชาค้นคว้าอิสระ2 ( Independent Study )
ครูที่ปรึกษา : นางสาวสมร ปาดวง
ปีการศึกษา : 2/2560
บทคัดย่อ
โครงงานเรื่องปัญหาและความต้องของชาวต่างชาติที่มีต่อจังหวัดเชียงใหม่
มีจุดมุ่งหมายเพื่อมองสถานการณ์การท่องเที่ยวของชาวต่างชาติในจังหวัดเชียงใหม่
ปัญหาที่พบและหรือความต้องการในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์
ในการพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ ส่งเสริมการท่องเที่ยวต่อไปให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งส่งเสริมการศึกษาภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษสู่ชุมชน
ทั้งนี้ผู้จัดทำได้ปรึกษาค้นคว้าข้อมูลเบื้องต้น ลงพื้นที่สำรวจ
เก็บข้อมูลสุ่มจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเหล่านั้น
และได้รวบรวมจัดทำเป็นรูปแบบโครงงานศึกษาค้นคว้าเล่มนี้ขึ้นมา
ง
|
เรื่อง หน้า
เกี่ยวกับโครงงาน ก
กิตติกรรมประกาศ ข
บทคัดย่อ ค
บทที่ 1 บทนำ 1
-
1.1. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน 1
-
1.2.
วัตถุประสงค์ของโครงงาน 1
-
1.3. ขอบเขตของโครงงาน 2
-
1.4. วิธีการดำเนินงาน 2
-
1.5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 3
-
2.1. รายได้จากการท่องเที่ยวของชาวต่างชาติในประเทศไทย 3
-
2.2. การท่องเที่ยวในประเทศไทย 3
-
2.3. จังหวัดเชียงใหม่ 5
-
2.4. การทำแบบสอบถาม 12
บทที่ 3 วิธีการดำเนินงานโครงงาน 17
-
3.1. วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือ 17
-
3.2. ขั้นตอนการดำเนินงาน 17
บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน 17
-
4.1. ผลการดำเนินงาน 18
บทที่ 5 สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ 20
-
5.1. สรุปผลการดำเนินโครงงาน 20
-
5.2. ปัญหาและอุปสรรค 20
-
5.3. ข้อเสนอแนะ 20
บรรณานุกรม 21
ภาคผนวก 22
จ
|
เรื่อง หน้า
รูปที่ 6.1. เครื่องคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 22
รูปที่ 6.2. เครื่องพิมพ์เอกสาร 1 เครื่อง 22
รูปที่ 6.3. กระดาษขนาด A4 สีขาว 80 แกรม 100
แผ่น 23
รูปที่ 6.4. ปากกาลูกลื่น 3 ด้าม 23
รูปที่ 6.5. วางแผนและออกแบบโครงงานค้นคว้าปัญหาและความต้องการของชาวต่างชาติที่มีต่อจังหวัดเชียงใหม่ 24
รูปที่ 6.6. ออกแบบ แบบสำรวจสอบถามที่มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในโปรแกรม Microsoft
Word 2016 24
รูปที่ 6.7. พิมพ์แบบสำรวจสอบถาม 25
รูปที่ 6.8. สัมภาษณ์นักท่องเที่ยว 1 25
รูปที่ 6.9. สัมภาษณ์นักท่องเที่ยว 2 26
รูปที่ 6.10. สัมภาษณ์นักท่องเที่ยว 3 26
รูปที่ 6.11. สัมภาษณ์นักท่องเที่ยว 4 27
รูปที่ 6.12. สัมภาษณ์นักท่องเที่ยว 5 27
รูปที่ 6.13. สัมภาษณ์นักท่องเที่ยว 6 28
รูปที่ 6.14. สัมภาษณ์นักท่องเที่ยว 7 28
รูปที่ 6.15. การใช้โปรแกรม Microsoft excel 2016 รวบรวมข้อมูล 29
ฉ
|
เรื่อง หน้า
ตารางที่ 2.1. ตารางแสดงสถิติรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติในประเทศไทย 5
ตารางที่ 2.2. ตารางแสดงข้อมูลอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ 7
ตางรางที่ 4.1.
นักท่องเที่ยวที่สัมภาษณ์ 18
ตารางที่ 4.2. ตารางแสดงปัญหาของชาวต่างชาติที่มีต่อจังหวัดเชียงใหม่ 19
ตารางที่ 6.1. ตารางแสดงจำนวนข้อมูลที่สัมภาษณ์ 29
1
|
บทที่
1
1.1.
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
เนื่องจากปัจจุบัน
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมาจากหลายเชื้อชาติ หลายประเทศ มาสัมผัสเยี่ยมชม
ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าท่องเที่ยวติดอันดับต้นๆของโลก
เพราะมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น หลากหลายในแต่ละภูมิภาค
จึงเป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชม ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาในทางที่ดีขึ้น
มีเงินเข้ามาหมุนเวียนในระบบ ซึ่งการที่มีคนต่างชาติ
ต่างภาษาและต่างวัฒนธรรมเข้ามานั้น ทำให้ต้องให้บริการหรือสนองความต้องการ
รับรองของชาวต่างชาติที่มาเยือนประเทศไทยเหล่านั้น
ซึ่งเปรียบเสมือนแขกบ้านแขกเมือง ที่ต้องทำให้ประทับใจสิ่งต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นด้านแหล่งท่องเที่ยว การขนส่งสาธารณะ ความปลอดภัย ฯลฯ เพื่อให้ชาวต่างชาติเหล่านั้นได้ประทับใจและได้เห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ดีงามและน่าอยู่
ในจังหวัดเชียงใหม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวเป็นจำนวนมาก
คณะผู้จัดทำได้เล็งเห็นและตระหนักถึงสิ่งดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงงานนี้ขึ้นมาเพื่อให้เห็นถึงความต้องการหรือปัญหาอื่น
ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยวเหล่านั้น
เพื่อเป็นข้อมูลและแนวทางในการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องต่าง ๆ ให้ดีขึ้นในอนาคตต่อไป
1.2. วัตถุประสงค์ของโครงงาน
2.1.
เพื่อทราบถึงความต้องการหรือมุมมองของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติโดยรวม
ที่เข้ามาในประเทศไทย(จังหวัดเชียงใหม่)
2.2.
เพื่อนำความรู้ทางคณิตศาสตร์เรื่อง สถิติ มาใช้รวบรวม
วิเคราะห์ข้อมูล ฯลฯ และนำออกไปใช้ในชีวิตประจำวัน
2.3.
เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปประเมินสถานการณ์ของชาวต่างชาติในปัจจุบันนี้
2.4.
เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงพื้นฐานในการพัฒนาตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวในอนาคตให้ดีขี้นต่อไป
2.5.
เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลในการศึกษาเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.6.
เพื่อนำความรู้สู่ชุมชน
ส่งเสริมและตระหนักถึงการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ในศตวรรษที่ 21
1.3.
ขอบเขตของโครงงาน
3.1.
ข้อมูลจากการสุ่มสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวในตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่ 100
คน
3.2.
ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาเบื้องต้นทั่ว ๆ
ไปและข้อคิดเห็นของชาวต่างชาติที่เข้ามาเที่ยว
1.4.
วิธีการดำเนินงาน
4.1.
คณะผู้จัดทำปรึกษากันในการเลือกหัวข้อที่สอดคล้องกับแผนการเรียนและสถานการณ์ในปัจจุบัน
4.2.
คณะผู้จัดทำกำหนดหัวเรื่องที่จะศึกษา
4.3.
กำหนดขอบเขต และออกแบบโครงงาน
4.4.
ดำเนินการทำโครงงานตามแบบแผนที่ได้วางไว้
4.5.
ลงพื้นที่สุ่มสัมภาษณ์ชาวต่างชาติจำนวน 100 คน
4.6.
ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล
4.7.
จัดทำรูปแบบการนำเสนอข้อมูลที่ได้มา และนำเสนอในรูปแบบโครงงาน 5
บท
5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
5.1.
ได้ศึกษาและสามารถดำเนินการสร้าง โครงงานปัญหาที่พบในชาวต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวในประเทศไทย(จังหวัดเชียงใหม่)
5.2.
สามารถนำความรู้ทางคณิตศาสตร์เรื่อง สถิติ มาใช้รวบรวม
วิเคราะห์ข้อมูล ฯลฯ ในโครงงาน
5.3. สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์สถานการณ์ของชาวต่างชาติในปัจจุบันได้
5.4.
สามารถนำไปเป็นข้อมูลแก้ไขปัญหา
ข้อบกพร่องในการรองรับชาวต่างชาติในชุมชนหรือที่อื่น ๆได้
5.5. สามารถนำข้อมูลไปเป็นแนวทางในการศึกษา ค้นคว้า ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
5.6.
สามารถนำความรู้ที่ได้ไปสู่ชุมชนเพื่อ ส่งเสริมและตระหนักถึงการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
ในศตวรรษที่ 21
บทที่
2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ในการศึกษา
โครงงานเรื่อง
ปัญหาที่พบในชาวต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวในประเทศไทย(จังหวัดเชียงใหม่) คณะผู้จัดทำได้รวบรวมแนวคิด
ต่าง ๆ จากเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
2.1. รายได้จากการท่องเที่ยวของชาวต่างชาติในประเทศไทย
การท่องเที่ยวทำรายได้ให้กับประเทศเป็นสัดส่วนสูงกว่าประเทศอื่นใดในทวีปเอเชีย
(ราว 6%
ของจีดีพี) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เดินทางมายังประเทศไทยด้วยเหตุผลหลายประการ
ส่วนใหญ่มาท่องเที่ยวตามชายหาดและพักผ่อน ถึงแม้ว่าจะมีความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ตาม
กรุงเทพมหานครมีการท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
เช่นเดียวกัน
การเพิ่มขึ้นอย่างมากของนักท่องเที่ยวจากชาติในทวีปเอเชียด้วยกันได้สร้างรายได้อย่างมากให้กับประเทศไทย
ถึงแม้ว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ ในทวีปเอเชีย ในปี
พ.ศ. 2550
นักท่องเที่ยวราว 14 ล้านคนเดินทางเข้ามาในประเทศไทย
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยยังรวมไปถึงอุตสาหกรรมเพศที่กำลังเฟื่องฟู อย่างไรก็ตาม
รัฐบาลไทยยังคงละเลยต่อสิทธิของกลุ่มผู้ขายบริการทางเพศภายใต้กฎหมายแรงงานในความผิดทางอาญาของกลุ่มผู้ขายบริการ
ทำให้ราชการคอร์รัปชั่นและพนักงานของรัฐเอาเปรียบกลุ่มผู้ขายบริการเหล่านี้
วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ที่กำลังฟื้นตัว
การกลับมาเติบโตของเศรษฐกิจจีน วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศ และการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่
2009 มีผลกระทบน้อยกว่าที่กังวลล่วงหน้า
ได้เปลี่ยนแปลงมุมมองของการท่องเที่ยวในปี พ.ศ. 2553 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศลดลง
16% ในช่วงครึ่งปีแรกของ พ.ศ. 2552 แต่ในช่วงสี่เดือนสุดท้ายของปี
นักท่องเที่ยวต่างประเทศได้กลับมาจนทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม
ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างประเทศของ พ.ศ. 2552 จึงอยู่ที่ 14
ล้านคน ลดลงเพียง 4% เมื่อเทียบกับตัวเลขของปี
พ.ศ. 2551
2.2. การท่องเที่ยวในประเทศไทย
การท่องเที่ยว เป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญในประเทศไทย มีส่วนทำให้ค่าจีดีพีของไทยอยู่ที่ประมาณ
6.7% ใน พ.ศ. 2550
ภาพรวม
สาเหตุที่การท่องเที่ยวไทยได้รับการสนับสนุนมากขึ้นใน
พ.ศ. 2503
นั้น เพราะมีความมั่นคงทางการเมือง
และมีการพัฒนากรุงเทพมหานครในเรื่องของการคมนาคมทางอากาศ
ทำให้ธุรกิจโรงแรมและการค้าปลีกขยายตัวอย่างรวดเร็ว
เพราะมีความต้องการจากนักท่องเที่ยว
และยังได้รับการส่งเสริมจากทหารอเมริกันที่เข้ามาพักผ่อนในช่วงสงครามเวียดนามอีกด้วย พร้อมกันนั้นการท่องเที่ยวระหว่างประเทศก็ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
เนื่องจากการดำรงชีวิตของผู้คนที่มีเวลาว่างมากขึ้น
และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทำให้สามารถเดินทางได้เร็วกว่า, ราคาถูกกว่า
และดีกว่า ด้วยโบอิง 747 ซึ่งให้บริการเป็นครั้งแรกใน
พ.ศ. 2513 ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศในทวีปเอเชียที่ได้รับผลประโยชน์จากกรณีนี้
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ระบุว่า 55% ของนักท่องเที่ยวใน พ.ศ. 2550
มาจากภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ได้แก่ ญี่ปุ่น และมาเลเซีย เป็นส่วนใหญ่
ส่วนนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกส่วนใหญ่มาจากสหราชอาณาจักร, ออสเตรเลีย,
เยอรมนี, สหรัฐอเมริกา และสแกนดิเนเวีย
ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวจากตะวันออกกลางและรัสเซียก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ประมาณ 55% ของนักท่องเที่ยวชาวไทยเป็นผู้ที่กลับมาเพื่อเยี่ยมบ้านเกิด
ซึ่งมีจำนวนมากที่สุดในช่วงเทศกาลคริสต์มาสต์ถึงปีใหม่
เมื่อนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกหนีสภาพหนาวเย็น โดยในปี พ.ศ. 2558 นักท่องเที่ยวจากประเทศจีน มีจำนวนมากที่สุด
การท่องเที่ยวในประเทศไทยได้เติบโตขึ้นอย่างมากในทศวรรษที่ผ่านมา
รายได้จากการท่องเที่ยวภายในประเทศได้เพิ่มขึ้นจาก 187,898 ล้านบาทใน พ.ศ. 2541 เป็น 380,417 ล้านบาทใน พ.ศ. 2550 โดยล่าสุดในปี 2558
การท่องเที่ยวสร้างรายได้จากไทยเที่ยวไทยและต่างชาติ 2.23 ล้านล้านบาท
นักท่องเที่ยวชาวเอเชียส่วนใหญ่จะท่องเที่ยวที่กรุงเทพมหานคร และโบราณสถาน,
สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมในปริมณฑล
ส่วนนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกจะไม่มาเพียงแค่กรุงเทพมหานครและบริเวณใกล้เคียงเท่านั้น
แต่จะเดินทางไปยังชายหาดและหมู่เกาะต่าง ๆทางภาคใต้ ส่วนภาคเหนือเป็นพื้นที่หลักในการเดินป่าและผจญภัยบนหมู่บ้านชาวเขา
รวมไปถึงป่าและภูเขาต่าง ๆ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีสานเป็นภาคที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปน้อยที่สุด
นอกจากนี้รัฐบาลไทยยังได้มีการจัดตั้งตำรวจท่องเที่ยว
เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติอีกด้วย
กรุงเทพยังได้รับการจัดอันดับ
เป็นที่ 2
ของโลก เมืองที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุด จากการจัดอันดับของ Master
card สองปีซ้อนคือ ปี พ.ศ. 2557-2558
สถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาไทย
สถิติโดยภาพรวมประจำปี
ปี
(พ.ศ./ค.ศ.) |
จำนวน
(คน) |
เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน
(ร้อยละ) |
รายได้
(ล้านบาท) |
เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน
(ร้อยละ) |
2559/2016
|
32,588,303
|
+8.91%
|
1,640,000.00
|
|
2558/2015
|
29,881,091
|
+20.44 %
|
1,447,158.05
|
+23.39
|
2557/2014
|
24,809,683
|
-6.54 %
|
1,147,653.49
|
-4.93 %
|
2556/2013
|
26,546,725
|
+18.76 %
|
1,207,145.82
|
+22.69 %
|
2555/2012
|
22,353,903
|
+16.24 %
|
983,928.36
|
+26.76 %
|
2554/2011
|
19,230,470
|
+20.67 %
|
776,217.20
|
+30.94 %
|
2553/2010
|
15,936,400
|
+12.63 %
|
592,794.09
|
+16.18 %
|
2552/2009
|
14,149,841
|
-2.98 %
|
510,255.05
|
-11.19 %
|
2551/2008
|
14,584,220
|
+0.83 %
|
574,520.52
|
+4.88 %
|
2550/2007
|
14,464,228
|
+4.65 %
|
547,781.81
|
+13.57 %
|
ตารางที่ 2.1. ตารางแสดงสถิติรายได้จากนักท่องเที่ยวในประเทศไทย
2.3. จังหวัดเชียงใหม่
รูปที่ 2.1. ตราประจำจังหวัดเชียงใหม่
เชียงใหม่
เป็นจังหวัดหนึ่งของไทย ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร
ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ มีประชากร 1,735,762 คน มากเป็นอันดับ 5 ของประเทศ ในจำนวนนี้เป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและชานเมือง 960,906 คน โดยจังหวัดเชียงใหม่ทิศเหนือติดต่อกับรัฐฉานของเมียนมา
จังหวัดเชียงใหม่แบ่งการปกครองออกเป็น
25
อำเภอ โดยมีอำเภอเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของจังหวัด
เมื่อ พ.ศ. 2552 มีการจัดตั้งอำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นอำเภอลำดับที่
25
ของจังหวัด และลำดับที่ 878 ของประเทศ
ซึ่งเป็นอำเภอล่าสุดของไทย
จังหวัดเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน
เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนาแต่โบราณ มี
"คำเมือง" เป็นภาษาท้องถิ่น
มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านประเพณีวัฒนธรรม และมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก
โดยเริ่มวางตัวเป็นนครสร้างสรรค์ และกำลังพิจารณาสมัครเข้าเป็นนครสร้างสรรค์
และเมืองมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก
ที่ตั้ง
จังหวัดเชียงใหม่(อำเภอเมือง)ตั้งอยู่
ณ ละติจูด 18 องศาเหนือ ลองติจูด 98 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 310 เมตร
ส่วนกว้างจากทิศตะวันตกจรดทิศตะวันออกประมาณ 138 กิโลเมตร
ส่วนยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ประมาณ 428 กิโลเมตร
ห่างจากกรุงเทพมหานคร 696 กิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ โดยมีดอยผีปันน้ำของดอยคำ ดอยปกกลา ดอยหลักแต่ง ดอยถ้ำป่อง ดอยถ้วย
ดอยผาวอก และดอยอ่างขางอันเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาแดนลาว
เป็นเส้นกั้นอาณาเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสามเงา อำเภอแม่ระมาด และอำเภอท่าสองยาง (จังหวัดตาก) มีร่องน้ำแม่ตื่นและดอยผีปันน้ำ
ดอยเรี่ยม ดอยหลวงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า (จังหวัดเชียงราย) อำเภอเมืองปาน อำเภอเมืองลำปาง (จังหวัดลำปาง) อำเภอบ้านธิ อำเภอเมืองลำพูน อำเภอป่าซาง อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอบ้านโฮ่ง และอำเภอลี้ (จังหวัดลำพูน) ส่วนที่ติดจังหวัดเชียงรายและลำปางมีร่องน้ำลึกของแม่น้ำกก
สันปันน้ำดอยซาง ดอยหลุมข้าว ดอยแม่วัวน้อย ดอยวังผา
และดอยแม่โตเป็นเส้นกั้นอาณาเขต ส่วนที่ติดจังหวัดลำพูนมีดอยขุนห้วยหละ ดอยช้างสูง
และร่องน้ำแม่ปิงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอปาย อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอขุนยวม อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง และอำเภอสบเมย (จังหวัดแม่ฮ่องสอน) มีดอยผีปันน้ำ
ดอยกิ่วแดง ดอยแปรเมือง ดอยแม่ยะ ดอยอังเกตุ ดอยแม่สุรินทร์ ดอยขุนยวม ดอยหลวง
และร่องแม่ริด แม่ออย และดอยผีปันน้ำดอยขุนแม่ตื่นเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
จังหวัดเชียงใหม่มีชายแดนติดต่อกับ 5
อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่อาย อำเภอฝาง อำเภอเชียงดาว อำเภอเวียงแหง
อำเภอไชยปราการ รวมระยะทางทั้งสิ้น 227 กิโลเมตร
พื้นที่เขตแดนส่วนใหญ่เป็นป่าเขา จึงไม่สามารถปักหลักเขตแดนได้ชัดเจน
และเกิดปัญหาเส้นเขตแดนระหว่างประเทศ
ภูมิอากาศ
จังหวัดเชียงใหม่มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นเกือบตลอดทั้งปี
มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25.4 องศาเซลเซียส
โดยมีค่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.8 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20.1 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝน-เฉลี่ย 1,100-1,200 มิลลิเมตร
สภาพภูมิอากาศจังหวัดเชียงใหม่อยู่ภายใต้อิทธิพลมรสุม 2 ชนิด
คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งภูมิอากาศออกได้เป็น 3
ฤดู
อุทยานแห่งชาติในจังหวัดเชียงใหม่
แผนที่อำเภอในจังหวัดเชียงใหม่
ลำดับ
|
อำเภอ
|
ประชากร
(พ.ศ. 2559) |
พื้นที่
(ตร.กม.) |
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.) |
1
|
234,837
|
152.36
|
1,541
|
|
2
|
66,811
|
712.30
|
94
|
|
3
|
59,515
|
2,686.57
|
22
|
|
4
|
91,829
|
1,882.08
|
49
|
|
5
|
72,064
|
671.28
|
107
|
|
6
|
75,699
|
1,362.78
|
56
|
|
7
|
91,558
|
443.63
|
206
|
|
8
|
23,642
|
898.02
|
26
|
|
9
|
118,075
|
888.16
|
133
|
|
10
|
77,778
|
736.70
|
106
|
|
11
|
49,258
|
1,148.19
|
43
|
|
12
|
75,290
|
178.19
|
423
|
|
13
|
84,327
|
197.83
|
426
|
|
14
|
131,414
|
285.02
|
461
|
|
15
|
86,435
|
277.14
|
312
|
|
16
|
43,803
|
1,430.38
|
31
|
|
17
|
27,393
|
803.92
|
34
|
|
18
|
62,317
|
2,093.83
|
30
|
|
19
|
82,247
|
97.46
|
844
|
|
20
|
44,563
|
672.17
|
66
|
|
21
|
45,962
|
510.85
|
90
|
|
22
|
31,625
|
601.22
|
53
|
|
23
|
21,296
|
442.26
|
48
|
|
24
|
25,931
|
260.13
|
100
|
|
25
|
12,093
|
674.58
|
18
|
|
รวม
|
1,735,762
|
20,107.05
|
86
|
ตารางที่ 2.2. ตารางแสดงข้อมูลอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่
การต่างประเทศ
จังหวัดเชียงใหม่เป็นที่ตั้งของสถานกงสุลดังต่อไปนี้
สถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา
สถานกงสุลใหญ่ญี่ปุ่น
สถานกงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน
สถานกงสุลใหญ่อินเดีย
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์เยอรมนี
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ฝรั่งเศส
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ออสเตรเลีย
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ออสเตรีย
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์แคนาดา
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์อิตาลี
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์เปรู
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์บังกลาเทศ
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์สวีเดน
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์กรีซ
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์เกาหลีใต้
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ฟิลิปปินส์
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ฟินแลนด์
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์เนเธอร์แลนด์
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์สวิสเซอร์แลนด์
การท่องเที่ยว
ในการสำรวจ
World
Best Award-Top 10 Cities จากผู้อ่าน Travel and Leisure นิตยสารท่องเที่ยวของสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2553 ผลปรากฏว่า
จังหวัดเชียงใหม่เป็นเมืองน่าท่องเที่ยวอันดับ 2 ของโลก
รองแต่เพียงกรุงเทพมหานครเท่านั้น ซึ่งใน พ.ศ. 2552 จังหวัดเชียงใหม่ถูกจัดเป็นเมืองน่าท่องเที่ยวอันดับ
5 ของโลก โดยพิจารณาจากสถานที่ ทัศนียภาพ ความสวยงามและร่มรื่น
ศิลปะวัฒนธรรมและประเพณี อาหารการกิน แหล่งช็อปปิ้ง ความเป็นมิตรของผู้คน
ความคุ้มค่า ของเงิน เป็นต้น
ใน พ.ศ. 2555 จังหวัดเชียงใหม่มีจำนวนนักท่องเที่ยวราว 6.5 ล้านคน
เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2554 ราว 9 แสนคน
อยู่ในอันดับที่ 4 ของประเทศรองจากกรุงเทพมหานคร จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดชลบุรี เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
2,192,322 คน (33.4%) สร้างรายได้รวม 53,507
ล้านบาท
ประเพณี
เมืองเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน
คนเชียงใหม่ได้สั่งสมวัฒนธรรมประเพณีสืบทอดมาจากบรรพบุรุษอย่างต่อเนื่อง
โดยส่วนใหญ่มีความผูกพันกับพุทธศาสนาและความเชื่อดั้งเดิม ประเพณีที่สำคัญ ได้แก่
ปีใหม่เมือง (สงกรานต์) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-16 เมษายนของทุกปี
เป็นประเพณีที่สำคัญและยิ่งใหญ่ของชาวเชียงใหม่ แบ่งเป็นวันที่ 14
เป็นวันสังขารล่อง มีขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ และพิธีสรงน้ำพระ
วันที่ 15 เตรียมข้าวของ เครื่องไทยทาน และวันที่ 16 เมษายน
ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่และเข้าวัด และมีการเล่นสาดน้ำตลอดช่วงเทศกาล
ประเพณียี่เป็ง จัดขึ้นในช่วงวันลอยกระทงของทุกปี
ราวเดือนพฤศจิกายน มีการตกแต่งบ้านเรือนและสถานที่ต่าง
ๆ ด้วยโคมชนิดต่าง ๆ มีการปล่อยโคมลอย มีการลอยกระทง ประกวดกระทงและนางนพมาศ
ประเพณีบูชาเสาอินทขิล จัดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ที่วัดเจดีย์หลวง เป็นการบูชาเสาหลักเมืองโดยการนำดอกไม้ธูปเทียนมาใส่ขันดอก
เทศกาลร่มบ่อสร้าง จัดขึ้นในเดือนมกราคมของทุกปี ที่ศูนย์หัตถกรรมทำร่มบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง มีการแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน
มีการแสดงทางวัฒนธรรม ขบวนแห่ ประเพณีพื้นบ้าน
มหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ จัดขึ้นในอาทิตย์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
บริเวณสวนสาธารณะบวกหาด มีขบวนรถบุปผาชาติ และนางงามบุปผาชาติ
งานไม้แกะสลักบ้านถวาย จัดขึ้นในเดือนมกราคม ที่หมู่บ้านถวาย อำเภอหางดง มีการจำหน่ายและสาธิตการแกะสลักไม้
และหัตถกรรมพื้นบ้าน
ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ จัดขึ้นในเดือนเมษายน ในวันที่ 15 เป็นต้นไป
ของทุกปี ที่บริเวณตัวเมืองจอมทอง มีขบวนรถจากชุมชน ห้างร้าน กลุ่มต่าง ๆ กว่า 40
ขบวน แห่ไปตามเมืองจอมทอง อำเภอจอมทอง จนถึง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานานกว่า 200 ปี
ตามตำนานเกิดขึ้นที่อำเภอจอมทอง ถือเป็นแห่งแรกของประเทศไทยและแห่งเดียวในโลก
ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ กลายเป็นต้นแบบของการแห่ไม้ค้ำสะหลีของชาวล้านนา
จนได้รับความนิยมไปทั่วภาคเหนือ และเป็นประเพณีที่เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดัง
และได้รับความนิยมอย่างมาก
การขนส่ง
จังหวัดเชียงใหม่มีระบบขนส่งที่หลากหลายทั้งทางบก
ทางรถไฟ และทางอากาศ
โดยเชียงใหม่เป็นจุดหมายปลายทางการบินที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศและภูมิภาค
เป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ มีระบบรางเข้าถึงและมีสถานีรถไฟกลาง
1
แห่งคือ สถานีรถไฟเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่มีสถานีรถโดยสารประจำทาง 3 แห่ง
สำหรับการขนส่งผู้โดยสารไปยังอำเภอต่าง ๆ และจังหวัดใกล้เคียง
สถานที่ท่องเที่ยว
พระมหาธาตุ
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง
อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย อำเภอเมืองเชียงใหม่
ดอยอ่างขาง อำเภอฝาง
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว อำเภอเชียงดาว
สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอแม่ริม
ดอยฟ้าห่มปก อำเภอแม่อาย
ออบหลวง อำเภอฮอด
สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไป
อำเภอเมืองเชียงใหม่
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
ถนนราชดำเนิน ช่วงระหว่างประตูท่าแพ ถึงวัดพระสิงห์
ถนนวัวลาย ช่วงระหว่างประตูเชียงใหม่
ถึงประตูหายยา
อำเภออื่น
2.4. การจัดทำแบบสอบถาม
ขั้นตอนการสร้างแบบสอบถาม
1. จัดทำรายการของตัวแปร ตัวชี้วัด และหัวข้อคำถาม
โดยการนำกรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษามาพิจารณาถึงตัวแปรต้นและตัวแปรตามทั้งหมด
เพื่อจัดทำเป็นรายการของตัวแปรโดยพิจารณาตัวแปรแต่ละตัวประกอบด้วยตัวชี้วัดอะไร ตัวชี้วัดแต่ละตัวประกอบด้วยหัวข้อคำถามกี่ข้อ
อะไรบ้าง ซึ่งจะทำให้มองเห็นภาพรวมแบบสอบถามทั้งชุด ปกติจะประกอบด้วย 3
ลักษณะ คือ ข้อมูลพื้นฐานได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ข้อมูลที่อยู่ในแบบจำลอง
ได้แก่ คำถามสำหรับวัดตัวแปรต้นและตัวแปรตาม และความคิดเห็นของผู้ตอบ ได้แก่ ปัญหา
ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นคำถามปลายเปิด
2. การพิจารณาใช้รูปแบบคำถาม อาจเป็นคำถามที่ตรง
(direct question) เช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา หรือคำถามแบบอ้อม
(indirect question) เช่น การถามภรรยาเกี่ยวกับรายได้ของสามี
นอกจากนี้ยังต้องตัดสินใจว่าเป็นคำถามปลายปิด
(closed-end question) ได้แก่ การกำหนดทางเลือกไว้ล่วงหน้า หรือคำถามปลายเปิด
(opened-end question) ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ผู้ตอบแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่
3. การร่างแบบสอบถาม (drafting)
เป็นขั้นตอนที่ต่อจากการระบุคำถามที่ต้องการ และการกำหนดรูปแบบคำถาม
การจัดทำร่างแบบสอบถามต้องพิจารณา การเรียงคำถามแต่ละข้อ การเรียงลำดับก่อนหลัง
นอกจากนี้ควรมีคำถามเพิ่มเติมเพื่อใช้ตรวจสอบความเชื่อถือได้
(reliability) โดยแยกไว้คนละส่วนเพื่อวัดความสอดคล้องกันของคำตอบ
(cross-check) เช่น ถามว่าท่านเป็นสมาชิกที่ดีของสหภาพแรงงานเพียงใด
ขณะเดียวกันก็ถามว่าท่านจ่ายค่าบำรุงให้แก่สหภาพแรงงานเป็นประจำทุกเดือนหรือไม่
4. การตรวจสอบและปรับปรุงคำถาม โดยให้ผู้รู้ได้แก่นักวิชาการที่เชี่ยวชาญในเรื่องที่ศึกษา
ผู้มีประสบการณ์ในเรื่องที่ศึกษา ประมาณ 3-5 คน ช่วยอ่านและวิจารณ์
โดยเน้นความชัดเจน ความครอบคลุม ภาษาที่ใช้มีความชัดเจนและคาดว่าผู้ตอบเข้าใจได้ การเรียงลำดับคำถาม
รูปแบบคำถามเหมาะสม
เป็นการให้ผู้รู้ช่วยตรวจสอบความถูกต้องในเนื้อหา
(content validity) โดยผู้รู้จะอาศัยเค้าโครงกรอบแนวคิด สมมติฐานการวิจัย
วิธีการวัดตัวแปรต่าง ๆ ประกอบการตรวจสอบ
5. การจัดทำส่วนประกอบแบบสอบถาม อาจประกอบด้วย
4 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ปกหน้า ปกติจะใช้กระดาษอ่อนธรรมดา เขียนชื่อแบบสอบถาม ระบุด้วยว่าแบบสอบถามใคร
เกี่ยวกับเรื่องอะไร เดือน ปี ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และชื่อเจ้าของโครงการ
ส่วนที่ 2 คำชี้แจง อยู่ถัดจากหน้าแรก เพื่อต้องการให้ผู้ตอบทราบว่าต้องการเก็บข้อมูลอะไรบ้าง
นำไปใช้ทำอะไร จะต้องระบุด้วยว่าจะไม่เปิดเผยชื่อผู้ตอบและผู้ตอบจะไม่ได้รับผลกระทบใด
ๆ ระบุให้ผู้ตอบตามความเป็นจริง
ส่วนที่ 3 ชื่อของแต่ละตอนในแบบสอบถาม เช่น
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตอบ
ตอนที่ 2 คำถามเกี่ยวกับความรู้เรื่องนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค
ตอนที่ 3 คำถามเกี่ยวกับทัศนคติต่อนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค
ตอนที่ 4 คำถามเกี่ยวกับปัญหาการดำเนินนโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรค
ตอนที่ 5 คำถามเกี่ยวกับข้อเสนอแนะต่อการปรับปรุงนโยบาย 30 บาท
รักษาทุกโรค
ส่วนที่ 4 ชี้แจงในการตอบคำถามของแต่ละตอน เช่น เลือกตอบให้ตรงกับความเป็นจริงโดยกา
x ใน ( ) ที่ต้องการ
6. การทดสอบแบบสอบถาม (pretest)
โดยการนำแบบสอบถามไปทดลองสอบถามตัวอย่างขนาด 10-30 คน โดยกลุ่มที่ใช้เป็นตัวอย่างต้องไม่เป็นกลุ่มเดียวกันกับตัวอย่างแต่มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน
เช่น กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานในบริษัท เอ ก็นำไปทดสอบกับพนักงานในบริษัท บี ที่ทำธุรกิจประเภทเดียวกัน
เป็นต้น
การทดสอบแบบสอบถามก็เพื่อหาค่าความเชื่อถือได้
(reliability) ของแบบสอบถาม ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ควรมีการจับเวลาในการตอบเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการเก็บจริงซึ่งปกติระยะเวลาในการตอบไม่ควรเกิน
30-40 นาที เพราะจะทำให้ผู้ตอบเบื่อหน่าย
7. การบรรณาธิกรแบบสอบถาม
(editing) หมายถึง การตรวจสอบครั้งสุดท้ายเพื่อทาให้แบบสอบถามสมบูรณ์มากที่สุดโดยตรวจสอบเนื้อหา
การจัดลำดับคำถาม การเว้นวรรค ตรวจสอบคำผิด และอาจระบุวิธีการใช้สอบถามเช่น การส่งทางไปรษณีย์
การให้ผู้ช่วยวิจัยออกไปซักถาม ผู้ตอบเป็นผู้กรอกหรือผู้ถามเป็นผู้กรอกข้อมูล
ประเภทคำถาม
1.คำถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริง เช่น เพศ อายุ
สถานภาพสมรส
2.คำถามเกี่ยวกับความรู้สึก เช่น ทัศนคติ
ความรู้สึกชอบไม่ชอบ
3.คำถามเกี่ยวกับพฤติกรรม เช่น พฤติกรรมการดื่มน้ำ
พฤติกรรมการใส่บาตร
4.คำถามวัดความรู้ เช่น การวัดความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
5.คำถามที่ต้องการคำอธิบายด้วยเหตุผล เช่น
การเปิดโอกาสให้ผู้ตอบได้วิเคราะห์ ไตร่ตรองและตอบได้อย่างอิสระ
รูปแบบของคำถามปลายปิด
1.แบบให้เลือกตอบอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น
ใช่หรือไม่ใช่ ถูกหรือผิด
2.แบบให้เลือกตอบเพียงคำตอบเดียวจากหลายทางเลือก
3.แบบให้เลือกตอบได้หลายคำตอบจากหลายทางเลือก
4.แบบจัดอันดับ เช่น ให้คำตอบไว้หลายทางเลือก
โดยให้ผู้ตอบเรียงลำดับความสำคัญ
5.แบบประมาณค่า เช่น การให้คำตอบไว้หลายทางเลือกโดยเรียงลำดับคะแนนแต่ผู้ตอบสามารถเลือกได้เพียงหนึ่งเดียว
6.การประมาณค่าแบบให้ค่า เช่น การกำหนดค่าคะแนนไว้โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อยแล้วให้เลือกตอบเพียงคำตอบเดียว
7. แบบขีดถูกขีดผิด
8. แบบจับคู่โดยการเขียนทางเลือกไว้สองข้าง
และให้ผู้ตอบนำคำตอบทางด้านซ้ายมาจับคู่กับด้านขวา
ข้อดีข้อเสียของคำถามปลายปิด
ข้อดี
-
ทางเลือกของคำตอบจะช่วยขยายความหมายคำถามได้ชัดเจนมากขึ้น
ผู้ตอบจึงเข้าใจความหมายของคำถามได้ง่ายขึ้น
-
สะดวกในการตอบ และใช้เวลาอันสั้นในการตอบ
-
คำตอบกำหนดเป็นมาตรฐาน ดังนั้นจึงสามารถนำมาแจกแจงความถี่
และวิเคราะห์ทางสถิติได้ง่ายขึ้น
ข้อเสีย
-
ผู้ตอบไม่มีอิสระในการคิดคำตอบอื่น
-
นักวิจัยอาจคาดคะเนคำตอบได้ไม่ครอบคลุม
จะส่งผลต่อการสรุปผลทำให้เกิดความผิดพลาด
หลักการตั้งคำถาม
1.คำถามแต่ละข้อควรมีเพียงประเด็นเดียว
2.ใช้คำที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้ตอบ เช่น ไม่ใช้ศัพท์แสลง
คำหรูหรา ศัพท์วิชาการกับชาวบ้าน
3.ใช้ภาษากลางๆไม่ใช้คำชี้นำ เช่น ท่านไม่เห็นด้วยใช่หรือไม่ว่า......
4.หลีกเลี่ยงคำฟุ่มเฟือยเพราะจะทำให้คำถามยาวเกินความจำเป็น
5.หลีกเลี่ยงคำที่ไวต่อความรู้สึกของผู้ตอบ
เช่น คำถามเพศสัมพันธ์ ความเชื่อในพระเจ้า ฯลฯ
6.หลีกเลี่ยงการใช้ประโยคปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ
เช่น ท่านไม่เห็นด้วยใช่หรือไม่ว่ามหาวิทยาลัยไม่จำเป็นต้องมีกฎระเบียบการแต่งกาย
7.คำถามที่ต้องการทราบความคิดเห็นเชิงแนวโน้มพฤติกรรมอาจต้องถามโดยการสมมุติเหตุการณ์บางอย่างขึ้นมา
8.การสร้างคำถามที่วัดความรู้สึกมีข้อพิจารณาดังนี้
คือ มีความยากง่ายเหมาะสมกับกลุ่มผู้ตอบ คำถามสามารถจำแนกระหว่างผู้รู้และไม่รู้ คำถามประเภทถูกหรือผิดควรเป็นชุดคำถามเพื่อหลีกเลี่ยงการเดา
ควรมีทางเลือกว่าไม่ทราบไว้ด้วย
9.การสร้างคำถามวัดพฤติกรรมมีหลักสำคัญ
คือ มีความเฉพาะเจาะจงและมีระยะเวลาที่ผ่านไปไม่นานนัก
หลักการเรียงลำดับข้อคำถาม
1.ควรเรียงลำดับจากคำถามที่ง่ายไปยาก
2.เริ่มต้นด้วยคำถามทั่ว ๆ ไปก่อนแล้วจึงมีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น
3.เรียงลำดับการเกิดก่อนหลัง
4.เรียงลำดับคำถามที่เป็นรูปธรรมที่ผู้ตอบคุ้นเคยก่อน
เพื่อให้เกิดความสามารถในการเชื่อมโยงเรื่องใกล้ตัวไปสู่เรื่องที่ไกลตัว
บทที่
3
วิธีการดำเนินงานโครงงาน
3.1. วัสดุ
อุปกรณ์เครื่องมือ
3.1.1.
เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค 1 เครื่องเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
3.1.2.
เครื่องพิมพ์เอกสาร 1 เครื่อง
3.1.3.
กระดาษขนาด A4 สีขาว 80 แกรม
3.1.4.
ปากกาลูกลื่น 3 ด้าม
3.2. ขั้นตอนการดำเนินงาน
3.2.1. วางแผนออกแบบโครงงานศึกษาค้นคว้าปัญหาและความต้องของชาวต่างชาติที่มีต่อจังหวัดเชียงใหม่
3.2.2. ค้นหาข้อมูลการทำแบบสำรวจสอบถามที่ดี
3.2.3. ออกแบบ
แบบสำรวจสอบถามที่มีภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในโปรแกรม Microsoft word 2016
3.2.4. พิมพ์แบบสำรวจสอบถาม
โดยใช้กระดาษขนาด A4 สีขาว มาจำนวน 100 แผ่น
3.2.5. นำแบบสำรวจสอบถามที่พิมพ์มานั้นไปสอบถามชาวต่างชาติที่มาเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่
เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2560
โดยถามเป็นภาษาอังกฤษ และใช้ปากกาลูกลื่นจดบันทึก
3.2.6. นำแบบสำรวจสอบถามทั้งหมดมารวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม
Microsoft excel 2016
3.2.7. นำข้อมูลทั้งหมดมาจัดทำรวบรวม
เป็นรูปเล่มรายงาน
3.2.8. นำความองค์ความรู้ที่ได้ไปสู่ชุมชนและสังคม
บทที่
4
ผลการดำเนินงาน
4.1. ผลการดำเนินงาน
โครงงานศึกษาค้นคว้าปัญหาและความต้องของชาวต่างชาติที่มีต่อจังหวัดเชียงใหม่
เล่มนี้ ผู้จัดทำได้ทำตามกระบวนการของ บทที่ 3 มาแล้วนั้น
ได้ลงพื้นที่สำรวจจริง ในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2560 ที่ตัวเมืองเชียงใหม่และสถานที่สำคัญ สรุปเป็นตารางดังนี้
รัสเซีย
|
2
|
จีน
|
5
|
เยอรมัน
|
7
|
โอมาน
|
1
|
สหรัฐอเมริกา
|
10
|
อังกฤษ
|
14
|
เกาหลี
|
2
|
แคนนาดา
|
6
|
ไอซ์แลนด์
|
4
|
ฝรั่งเศส
|
14
|
ออสเตรเลีย
|
6
|
เนเธอร์แลนด์
|
1
|
ลาว
|
1
|
เบลเยี่ยม
|
3
|
ฮังการี
|
3
|
ญี่ปุ่น
|
10
|
กรีนแลนด์
|
1
|
กรีซ
|
1
|
เดนมาร์ก
|
1
|
อินเดีย
|
1
|
อิรัก
|
1
|
อิตาลี
|
1
|
สิงคโปร์
|
1
|
สโลวาเกีย
|
1
|
โปรตุเกส
|
1
|
ปารากวัย
|
1
|
อิสราเอล
|
1
|
รวมทั้งสิ้น
100
คน
|
ตางรางที่ 4.1.
นักท่องเที่ยวที่สัมภาษณ์
ปัญหา
|
ระดับของปัญหา
|
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต(
|
||||
5
|
4
|
3
|
2
|
1
|
||
สภาพอากาศ
|
0
|
8
|
26
|
48
|
18
|
15.27
|
การจราจร
|
1
|
19
|
38
|
30
|
12
|
17.8
|
ที่พัก
|
0
|
6
|
14
|
33
|
47
|
9.93
|
การสื่อสาร
|
2
|
7
|
16
|
34
|
41
|
13
|
ความสะดวกฯ
|
0
|
6
|
12
|
43
|
39
|
12.33
|
การขนส่งฯ
|
1
|
5
|
21
|
41
|
32
|
13.47
|
ความปลอดภัย
|
2
|
4
|
17
|
28
|
49
|
12.13
|
อื่น ๆ
|
0
|
0
|
2
|
0
|
0
|
6
|
5 มีปัญหามากที่สุด 4 มีปัญหามาก 3 มีปัญหาปานกลาง 2
มีปัญหาน้อย 1 มีปัญหาน้อยมาก
จากตารางแสดงจะเห็นได้ว่า
ในมุมมองของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ การจราจรมีค่าเฉลี่ย 17.8 เป็นสิ่งที่มีปัญหามากที่สุด สืบเนื่องจากว่า
การขับขี่รถในตัวเมืองผู้คนไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร รวมไปถึงวินัยในการขับขี่
การขับขี่แบบระมัดระวังผู้อื่นมีน้อย และทำให้การสัญจรของผู้คนมีความเสี่ยงอันตรายจากรถได้
และรองลงมาก็คือ สภาพอากาศมีค่าเฉลี่ย 15.27 ในมุมมองของนักท่องเที่ยวเหล่านั้นได้บอกกับผู้จัดทำว่า
มีสภาพอากาศที่ดี แต่มีความแปรปรวนของสภาพอากาศมาก และรองลงมาก็คือ
การขนส่งมีค่าเฉลี่ย 13.47 และที่มีปัญหาน้อยที่สุดคือ
ที่พักมีค่าเฉลี่ย 9.93 นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่างเห็นว่า
สะอาด สะดวกและปลอดภัย รองรับการมาเที่ยวของนักท่องเที่ยวได้ดี
ข้อคิดเห็นและข้อแนะนำของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
ผู้จัดทำได้แปลเป็นภาษาไทยดังนี้
“ขยะเยอะ” …Kyoko
Ginawa
“มีสัตว์ปีก และหนูมาก” …Fkederik
Voute
“อากาศค่อนข้างมีมลพิษ” …Eabriel Francesch
“ถนนไม่มีความชัดเจน” …Camw
“บางครั้ง มีมลพิษมากไป” …Ming Jing Xiao
และผู้จัดทำได้นำองค์ความรู้ที่ได้ไปสู่ชุมชนและสังคม
โดยจัดทำเป็นแผ่นพับแจกให้นักเรียนในโรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม ชาวบ้านในตลาดบ้านกาด
รวมทั้งนำข้อมูลขึ้นเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้สนใจได้มาศึกษา ผลปรากฎว่า
คนในชุมชนและผู้ที่มาเยี่ยมชมเว็บไซต์ ให้ความสนใจและได้ตื่นตัว
ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ
ซึ่งเป็นภาษาที่สำคัญในโลกปัจจุบัน มีทัศนะที่ดีในข้อมูลข้อเสนอแนะของชาวต่างชาติ
พร้อมทั้งจะพัฒนาจุดที่ต้องแก้ไขเพื่อให้ชุมชนได้พัฒนาในทางที่ดีขึ้นต่อไปในอนาคต
บทที่
5
สรุป
อภิปรายและข้อเสนอแนะ
5.1. สรุปผลการดำเนินโครงงาน
โครงงานศึกษาค้นคว้าปัญหาและความต้องของชาวต่างชาติที่มีต่อจังหวัดเชียงใหม่
คณะผู้จัดทำได้วางแผน ออกแบบโครงงาน
ตลอดจนการลงพื้นปฏิบัติการสำรวจนักท่องเที่ยวชาวต่างชาตินจังหวัดเชียงใหม่
เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2560 นั้น ในมุมมองของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ การจราจรมีค่าเฉลี่ย 17.8 เป็นสิ่งที่มีปัญหามากที่สุด สืบเนื่องจากว่า
การขับขี่รถในตัวเมืองผู้คนไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร รวมไปถึงวินัยในการขับขี่
การขับขี่แบบระมัดระวังผู้อื่นมีน้อย
และทำให้การสัญจรของผู้คนมีความเสี่ยงอันตรายจากรถได้ และรองลงมาก็คือ
สภาพอากาศมีค่าเฉลี่ย 15.27 ในมุมมองของนักท่องเที่ยวเหล่านั้นได้บอกกับผู้จัดทำว่า
มีสภาพอากาศที่ดี แต่มีความแปรปรวนของสภาพอากาศมาก และรองลงมาก็คือ
การขนส่งมีค่าเฉลี่ย 13.47 และที่มีปัญหาน้อยที่สุดคือ
ที่พักมีค่าเฉลี่ย 9.93 นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่างเห็นว่า
สะอาด สะดวกและปลอดภัย รองรับการมาเที่ยวของนักท่องเที่ยวได้ดี
และผู้จัดทำได้นำองค์ความรู้ที่ได้ไปสู่ชุมชนและสังคม
โดยจัดทำเป็นแผ่นพับแจกให้นักเรียนในโรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม ชาวบ้านในตลาดบ้านกาด
รวมทั้งนำข้อมูลขึ้นเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้สนใจได้มาศึกษา ผลปรากฎว่า
คนในชุมชนและผู้ที่มาเยี่ยมชมเว็บไซต์ ให้ความสนใจและได้ตื่นตัว
ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ
ซึ่งเป็นภาษาที่สำคัญในโลกปัจจุบัน มีทัศนะที่ดีในข้อมูลข้อเสนอแนะของชาวต่างชาติ
พร้อมทั้งจะพัฒนาจุดที่ต้องแก้ไขเพื่อให้ชุมชนได้พัฒนาในทางที่ดีขึ้นต่อไปในอนาคต
5.2. ปัญหาและอุปสรรค
5.2.1.
คณะผู้จัดทำได้ลงพื้นที่สำรวจแบบสอบถามชาวต่างชาติในจังหวัดเชียงใหม่
วันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2560 มีสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวมาก
ทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างถนัดเท่าที่ควร
5.2.2.
มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ไม่พูดภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจากประเทศจีน
ทำให้สื่อสารกันได้ลำบาก
5.2.3.
เกิดความล่าช้าในการเดินทาง เนื่องจากมีสภาพจราจรติดขัด
ทำให้เสียเวลางานออกไปมาก
5.3. ข้อเสนอแนะ
-
บรรณานุกรม
|
|
https://th.wikipedia.org/wiki/การท่องเที่ยวในประเทศไทย
|
|
http://www.siamsurvey.com/th/web_page/survey_criteria
|
ภาคผนวก
การวางแผนและพิมพ์แบบสอบถาม
วัสดุ
อุปกรณ์ที่ใช้
รูปที่
6.1.
เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค 1 เครื่องเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
รูปที่
6.2.
เครื่องพิมพ์เอกสาร 1 เครื่อง
รูปที่
6.3.
กระดาษขนาด A4 สีขาว 80 แกรม
100 แผ่น
รูปที่
6.4.
ปากกาลูกลื่น 3 ด้าม
ขั้นตอนการทำ
รูปที่
6.5.วางแผนออกแบบโครงงานศึกษาค้นคว้าปัญหาและความต้องของชาวต่างชาติที่มีต่อจังหวัด เชียงใหม่
รูปที่ 6.6. ออกแบบ แบบสำรวจสอบถามที่มีภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในโปรแกรม Microsoft
word 2016
รูปที่ 6.7. พิมพ์แบบสำรวจสอบถาม โดยใช้กระดาษขนาด A4 สีขาว
มาจำนวน 100 แผ่น
สัมภาษณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติในจังหวัดเชียงใหม่
นำแบบสำรวจสอบถามที่พิมพ์มานั้นไปสอบถามชาวต่างชาติที่มาเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่
เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2560 โดยถามเป็นภาษาอังกฤษ และใช้ปากกาลูกลื่นจดบันทึก
รูปที่ 6.8.สัมภาษณ์นักท่องเที่ยว 1
รูปที่ 6.9.สัมภาษณ์นักท่องเที่ยว 2
รูปที่ 6.10.สัมภาษณ์นักท่องเที่ยว 3
รูปที่ 6.11.สัมภาษณ์นักท่องเที่ยว 4
รูปที่ 6.12.สัมภาษณ์นักท่องเที่ยว 5
รูปที่ 6.13.สัมภาษณ์นักท่องเที่ยว 6
รูปที่ 6.14.สัมภาษณ์นักท่องเที่ยว 7
รูปที่ 6.15.การใช้โปรแกรม Microsoft
excel 2016 รวบรวมข้อมูล
ปัญหา
|
ระดับของปัญหา
|
รวม
|
||||
5
|
4
|
3
|
2
|
1
|
||
สภาพอากาศ
|
0
|
8
|
26
|
48
|
18
|
100
|
การจราจร
|
1
|
19
|
38
|
30
|
12
|
100
|
ที่พัก
|
0
|
6
|
14
|
33
|
47
|
100
|
การสื่อสาร
|
2
|
7
|
16
|
34
|
41
|
100
|
ความสะดวกฯ
|
0
|
6
|
12
|
43
|
39
|
100
|
การขนส่งฯ
|
1
|
5
|
21
|
41
|
32
|
100
|
ความปลอดภัย
|
2
|
4
|
17
|
28
|
49
|
100
|
อื่นๆ
|
0
|
0
|
2
|
0
|
0
|
2
|
ตารางที่ 6.1. ตารางแสดงจำนวนข้อมูลที่สัมภาษณ์
การเผยแพร่องค์ความรู้สู่ชุมชนและสังคม(ในโรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม
ตลาดบ้านกาด และนำข้อมูลขึ้นเว็บไซต์)
Aucun commentaire:
Enregistrer un commentaire